ปี: 2018

วิธีการดูแลรักษาแท้งค์น้ำ

  1.  ควรทำความสะอาดทั้งภายใน และภายนอกถัง อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง (6 เดือน / ครั้ง) ล้างด้วยสบู่ ผงซักฝอก หรือ สารทำละลาย เช่น แอลกอฮอล์ แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นจนสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง นะครับ
  2.  ห้ามใช้บรรจุน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง เช่น น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำบาดาล หรือน้ำที่มีคลอรีนสูง เนื่องจากอาจจะเกิดการกัดกร่อนและเป็นสนิมได้
  3.  อุปกรณ์ท่อประปา และข้อต่อ ที่ใช้เชื่อมต่อกับแท้งค์น้ำสเตนเลส ควรใช้เป็น PVC , สเตนเลส , ทองเหลือง เท่านั้นนะครับ ห้ามใช้เหล็กโดยเด็ดขาด เพราะเหล็กทำปฏิกิริยาต่อต้านกับสเตนเลสจนทำให้เกิดสนิมได้นะครับ
  4.  ไม่ควรวางแท้งค์น้ำไว้ในพื้นที่ที่อาจเกิดผลเสีย เช่น ใกล้ทะเล ใกล้เหล็ก ใกล้การพ่นสี ใกล้การเชื่อมงาน ใกล้สารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น
  5.  ควรใช้คู่กับขาตั้งที่ทางโรงงานผลิตมาให้ เนื่องจากการออกแบบขาตั้งจากทางโรงงานนั้น ได้มีการดีไซน์ประสิทธิภาพในการรองรับน้ำหนักแท้งค์น้ำมาเป็นอย่างดี และได้มาตรฐาน
  6.  กรณีที่มีการเคลื่อย้ายแท้งค์น้ำ ควรถ่ายน้ำออกจากแท้งค์ให้หมด และเคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวัง

วิธีการติดตั้งและดูแลรักษาถังดักไขมัน

ปัจจุบันในร้านอาหารหรือห้องครัวภายในบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป มักพบปัญหาท่อน้ำอุดตันจากไขมันของอาหาร  ปัญหานี้จะหมดไป เมื่อคุณเลือกใช้ถังดักไขมัน ที่มีระบบการทำงานภายในที่สมบูรณ์แบบ และมีประสิทธิภาพในการบำบัดที่ดี เหมาะสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือห้องครัวภายในบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป และสามารถมั่นใจในคุณภาพน้ำทิ้งที่ได้มาตรฐานก่อนระบายทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้นะครับ

ระบบการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1   ตะแกรงดักเศษอาหาร จะช่วยกรองเศษอาหารและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ไว้

ขั้นตอนที่ 2   ส่วนแยกไขมัน ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับทิศทางการไหลของน้ำและรูปร่างถัง จึงมีประสิทธิภาพในการแยกและสกัดไขมันให้ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ

ขั้นตอนที่ 3   ท่อระบายไขมัน เมื่อไขมันถูกแยกออกจากน้ำและสะสมอยู่ภายในถัง ในระยะเวลาประมาณ 7 วัน ก็สามารถระบายไขมันออกทางท่อน้ำออกลงถุงดำ หรือภาชนะที่เตรียมไว้ เพื่อนำไปทิ้ง

 

วิธีการติดตั้งถังดักไขมัน แบบวางใต้ดิน

 

  1. ควรวางระดับท่อน้ำให้สามารถไหลได้ตามปกติ ระดับสูงมาต่ำ (ความลาดเอียงของท่อโดยประมาณ 1:100) (รูป ก)
  2. ขุดดินให้ได้ตามความลึกของถัง และความลาดชันที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทคอนกรีตเสริมเหล็กตามแบบ รอให้คอนกรีตแห้งแล้วจัดวางถังให้ได้ระดับ กลบอัดทราย ต่อท่อน้ำเข้า – ออก ให้ได้ระดับจนถึงปากถัง โดยให้ปากถังสูงกว่าระดับดิน ไม่น้อยกว่า 5 ซม. (รูป ข และ ค)
  3. ห้ามวางวัสดุที่มีน้ำหนักเกิน 3 กิโลกรัมบนฝาถัง

 

ข้อควรระวัง !!! ขณะกลบทรายรอบฝาถังให้ใช้ฝาปิดปากถังป้องกันดิน , ทราย , เศษวัสดุ เข้าถัง อาจทำให้เกิดท่อตันได้นะครับ

วิธีการติดตั้งถังดักไขมัน แบบวางบนดิน

  1. ถังดักไขมันควรติดตั้งไว้ใกล้กับอ่างล้างจาน เป็นบริเวณที่สามารถเปิดถังทำความสะอาดได้สะดวก หรือว่างใต้ซิ้งค์ล้างจาน ควรเป็นพื้นที่เรียบ ไม่มีเศษวัสดุ และได้ระดับ
  2. เดินท่อน้ำเสียจากอ่างล้างจาน มาเข้าถังดักไขมัน และเดินท่อน้ำทิ้งจากถังดักไขมันไปยังท่อระบายน้ำสาธารณะ (ความลาดเอียงของท่อโดยประมาณ 1:100)

 

 

 

วิธีการดูแลรักษา

  1. ควรนำเศษอาหารในตะกร้าดักเศษอาหารทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เศษอาหารเกิดการบูดเน่า
  2. ควรระบายไขมัน หรือตักไขมันที่ลอยอยู่ออกทางท่อระบายไขมันทุกๆ 7- 10 วัน
  3. ทุก 6 เดือนควรล้างทำความสะอาดโดยการถอดฝาเกลียวที่ก้นถังออก แล้วใช้น้ำฉีดทำความสะอาด

แท้งค์น้ำสเตนเลส หรือถังเก็บน้ำสเตนเลส

 

     แท้งค์น้ำสเตนเลส หรือถังเก็บน้ำสเตนเลส ผลิตมาจากวัสดุสเตนเลสเกรด AISI 304 มีส่วนผสมของโครเมี่ยมสูงถึง 18 % และนิกเกิ้ล 8% โดยทั่วไปมักจะเรียกกันว่า สเตนเลสเกรด AISI304 18-8 ม้วนขึ้นรูปเป็นลำตัวแท้งค์ เชื่อมต่อกับฝาบนส่วนหัวแท้งค์ และฝาล่างส่วนก้นแท้งค์ เป็นแท้งค์เก็บน้ำที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ใช้หลายๆ ท่าน สะดวกกับการติดตั้ง แบบก้นนูนมีรูน้ำทิ้งอยู่บริเวณก้นถัง มีขาตั้งรองรับถังไม่ให้ก้นถังติดพื้น ง่ายต่อการทำความสะอาด และสามารถปล่อยน้ำทิ้งไล่ตะกอนที่ตกค้างออกได้จนหมดถัง ควรทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอก ทุกๆ 6 เดือน เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานมากยิ่งขึ้นนะครับ

 

คุณสมบัติ

     สำหรับใช้บรรจุน้ำสะอาด น้ำประปา น้ำฝน เพื่อการอุปโภค - บริโภค สะอาดปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ แข็งแรง แตกยาก ทนทาน สวย เงางาม ทนแดด ทนฝน ทนทานต่อการกัดกร่อน ผุกร่อนยาก ทนความร้อนได้ดี ไม่เกิดกลิ่น เมื่อเก็บน้ำไว้นาน ทำความสะอาดง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก มีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่เกิดตะใคร่น้ำ

 

ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรนำไปใช้บรรจุน้ำที่มีค่าความเป็นกรด เป็นด่างสูง เช่น น้ำบาดาล น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำที่มีคลอรีนสูง หรือน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง

2. ไม่ควรนำไปวางตั้งในพื้นที่สภาพแวดล้อมที่อาจทำให้เกิดผลเสีย เช่น พื้นที่ลาดเอียง ใกล้ทะเล เศษเหล็กจากการเชื่อมงาน ละอองจากการพ่นสี เศษปูนจากงานก่อสร้าง สารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น

3. ห้ามใช้ข้อต่อที่เป็นเหล็กในการติดตั้ง เนื่องจากเนื้อเสตนเลสเมื่อสัมผัสกับเนื้อเหล็กแล้วจะทำปฏิกิริยาต่อต้านกัน จนทำให้เกิดสนิม ควรใช้ข้อต่อที่เป็นสเตนเลส ทองเหลือง หรือ PVC เท่านั้นนะครับ

แท้งค์น้ำพลาสติก หรือถังเก็บน้ำพลาสติก

     ปัจจุบันนี้แท้งค์น้ำพลาสติก หรือถังเก็บน้ำพลาสติก ได้ถูกพัฒนาคุณภาพทั้งทางด้านการผลิต และวัสดุที่ใช้ในการผลิตขึ้นมาให้มีความทันสมัย และมีคุณภาพในการใช้งานมากขึ้น โดยมีการนำวัสดุ PE หลากหลายรูปแบบเข้ามาเป็นส่วนผสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด เช่น Polyethelene (PE) , Polymer Elixer , Poly Composite , Fiber , Nano เป็นพลาสติกที่ผ่านการรับรองประเภท Food Grade จึงไม่มีสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เป็นวัสดุที่ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นสูง เหนียวทน ขึ้นรูปได้ตามความต้องการ ไร้รอยต่อ

คุณสมบัติ

สำหรับใช้บรรจุน้ำ เพื่อการอุปโภค – บริโภค แข็งแรง สวยงาม รูปแบบทันสมัย ไม่เกิดสนิม ทนแดด ไม่เกิดตะไคร่ ไม่กรอบแตกง่าย ไม่เกิดตะใคร่น้ำ บรรจุได้ทั้งน้ำประปา น้ำฝน น้ำบาลดาล วางกลางแดดน้ำไม่ร้อน ควรทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอก ทุกๆ 6 เดือน

ข้อควรระวัง

  1. มีทั้งแบบทึบแสง และ ไม่ทึบแสงหากตั้งวาง ไว้กลางแจ้ง ควรเลือกใช้ถังเก็บน้ำพลาสติก แบบทึบแสง และกันตะไคร่น้ำ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้น
  2. ไม่ควรนำไปวางในพื้นที่ลาดเอียง
  3. เคลื่อนย้ายไม่สะดวก

 

ประเภทของแท้งค์น้ำ แบ่งตามวัสดุ

ประเภทของแท้งค์น้ำพลาสติก หรือถังเก็บน้ำพลาสติก แบ่งตามวัสดุ

1. วัสดุ PE

เป็นพลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสารตั้งต้นเอทิลีน (ผลผลิตจากปิโตรเลียม) มี 2 ชนิดคือ ชนิดความหนาแน่นสูง (HDPE) และ ชนิดความหนาแน่นต่ำ (LDPE) ซึ่งถูกนำมาผลิตเป็นถังเก็บน้ำ เป็นวัสดุที่มีสีขาวขุ่นโปร่งแสง  มีความลื่นมันในตัวเอง เมื่อสัมผัสจึงรู้สึกลื่น ยืดหยุ่นได้ดี และที่สำคัญ ไม่มีกลิ่น และรส  มีความเหนียว  ทนความร้อนได้ไม่มากนัก (<100 C) ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมี ใส่สีผสมได้ง่าย การใช้พลาสติก PE ทำเป็นถังเก็บน้ำ มีมานานแล้วด้วยวิธีการ Compound และมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบถังบนดิน และถังฝังดิน และมีขนาดให้เลือกมาก รวมถึงบางยี่ห้อทำแบบหลายชั้น โดยชั้นในที่สัมผัสน้ำเป็นวัสดุชั้นเยี่ยม สะอาด ปลอดภัยในการบรรจุน้ำ ไม่เหมาะกับการใช้งานกลางแจ้ง หากวางตากแดดนานๆ อาจเกิดการกรอบแตกได้

2. วัสดุ PE ELIXIR

เป็นวัสดุกลุ่มพลาสติกที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อถังเก็บน้ำโดยเฉพาะ ด้วยคุณสมบัติของวัสดุที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับสากลจากองค์การอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา หรือ FDA ว่าไม่เป็นอันตราย สามารถสัมผัสอาหารและน้ำดื่มได้อย่างปลอดภัย (Food Grade)  100 % สีไม่หลุดลอก ด้วยเทคโนโลยี Compound ขั้นสูงจาก SCG Chemicals  โดยการทำให้สีรวมเป็นเนื้อเดียวกันกับเนื้อวัสดุพอลิเมอร์ ทำให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีการหลุดลอกของสี ปนเปื้อนลงในน้ำที่เก็บในถัง ปราศจากสารตะกั่ว และปรอท  เพราะใช้ส่วนผสมและสีคุณภาพสูง ไร้ส่วนผสมของสารโลหะหนักอย่างสารปรอทและตะกั่ว จึงไม่ทิ้งสารอันตรายปนเปื้อนในน้ำป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำ เพราะใช้สีที่มีคุณสมบัติทึบแสง ทำให้แสงแดดไม่สามารถส่องผ่านเข้าไปในตัวถังเก็บน้ำได้ จึงช่วยป้องกันการเกิดตะไคร่น้ำ อันเป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อแบคทีเรีย ไร้กลิ่นอันไม่พึงประสงค์    โดยผ่านการทดสอบเรื่องกลิ่น ด้วยการตรวจสอบวัสดุด้วยมาตรฐานเดียวกันกับท่อน้ำดื่ม วัสดุแข็งแรงทนทาน มีส่วนผสมของสาร Anti-UV ช่วยปกป้องวัสดุจากแสงแดดและความร้อน มีรูปทรงและสีสันสวยงาม กลมกลืนกับบ้านทุกสไตล์ สีสันสดใส คงทน ไม่เป็นสนิม ไม่กรอบแตกง่าย ทนน้ำกร่อย น้ำทะเลได้ สามารถตั้งกลางแจ้งได้อย่างไร้กังวล

3.วัสดุไฟเบอร์กลาส(Fiber Glass)

เป็นมีวัสดุมากกว่า 2 ชนิดมาประสานกัน วัสดุที่นำมาเสริมแรงให้พลาสติกคือ “ใยแก้ว” ซึ่งมีลักษณะอ่อนนุ่มแต่เหนียว ทนความร้อนได้สูง ส่วนพลาสติกที่นำมาใช้เป็นเนื้อ ต้องเป็นชนิดที่มีความแข็งมาก ซึ่งถ้าไม่มีการเสริมแรงแล้วจะเปราะ การสร้างผลิตภัณฑ์ขึ้นมาโดยวิธีการดังกล่าวแล้ว  จึงเรียกได้ว่าเป็น ผลิตภัณฑ์พลาสติกเสริมแรง ด้วยใยแก้ว  หรือ  FRP  ซึ่งเราเรียกง่ายๆ ว่า ผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส หรือ ผลิตภัณฑ์เอฟอาร์พี

วิธีติดตั้งระบบประปากับแท้งค์น้ำสเตนเลส

วิธีการติดตั้งระบบประปากับแท้งค์น้ำสเตนเลส

การเตรียมพื้นสำหรับวางแท้งค์น้ำสเตนเลส สิ่งสำคัญควรปรับพื้นที่เทคอนกรีตให้เรียบเสมอกัน ไม่ควรวางบนพื้นที่ลาดเอียงนะครับ ขนาดของพื้นที่วางควรกว้างกว่าขนาดของแท้งค์น้ำอย่างน้อย 10 เซนติเมตร จะลงเสาเข็ม หรือไม่ลงเสาเข็มก็ได้ วางตั้งแท้งค์น้ำให้สามารถเดินท่อได้สะดวก โดยพิจารณาจากตำแหน่งท่อน้ำเข้า และท่อน้ำออกจากแท้งค์ไปยังปั๊มน้ำ เพื่อความสะดวกในการใช้งาน และการดูแลรักษานะครับ

(ควรวางบนพื้นปูนนะครับ เนื่องจากเมื่อบรรจุน้ำไปแล้วจะมีน้ำหนักมาก เช่น ถังขนาด 1000 L เมื่อบรรจุน้ำ ถังจะมีน้ำหนักอยู่ที่ประมาณ 1000 Kg. ขึ้นไป – 1300 Kg.)

 

วิธีการดูแลรักษาแท้งค์น้ำ

  1.  ควรทำความสะอาดทั้งภายใน และภายนอกถัง อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง (6 เดือน / ครั้ง) ล้างด้วยสบู่ ผงซักฝอก หรือ สารทำละลาย เช่น แอลกอฮอล์ แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นจนสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง นะครับ

  2.  ห้ามใช้บรรจุน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง เช่น น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำบาดาล หรือน้ำที่มีคลอรีนสูง เนื่องจากอาจจะเกิดการกัดกร่อนและเป็นสนิมได้

  3.  อุปกรณ์ท่อประปา และข้อต่อ ที่ใช้เชื่อมต่อกับแท้งค์น้ำสเตนเลส ควรใช้เป็น PVC , สเตนเลส , ทองเหลือง เท่านั้นนะครับ ห้ามใช้เหล็กโดยเด็ดขาด เพราะเหล็กทำปฏิกิริยาต่อต้านกับสเตนเลสจนทำให้เกิดสนิมได้นะครับ

  4.  ไม่ควรวางแท้งค์น้ำไว้ในพื้นที่ที่อาจเกิดผลเสีย เช่น ใกล้ทะเล ใกล้เหล็ก ใกล้การพ่นสี ใกล้การเชื่อมงาน ใกล้สารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น

  5.  ควรใช้คู่กับขาตั้งที่ทางโรงงานผลิตมาให้ เนื่องจากการออกแบบขาตั้งจากทางโรงงานนั้น ได้มีการดีไซน์ประสิทธิภาพในการรองรับน้ำหนักแท้งค์น้ำมาเป็นอย่างดี และได้มาตรฐาน

  6.  กรณีที่มีการเคลื่อย้ายแท้งค์น้ำ ควรถ่ายน้ำออกจากแท้งค์ให้หมด และเคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวัง

วิธีการติดตั้งและดูแลรักษาถังดักไขมัน

ปัจจุบันในร้านอาหารหรือห้องครัวภายในบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป มักพบปัญหาท่อน้ำอุดตันจากไขมันของอาหาร  ปัญหานี้จะหมดไป เมื่อคุณเลือกใช้ถังดักไขมัน ที่มีระบบการทำงานภายในที่สมบูรณ์แบบ และมีประสิทธิภาพในการบำบัดที่ดี เหมาะสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือห้องครัวภายในบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป และสามารถมั่นใจในคุณภาพน้ำทิ้งที่ได้มาตรฐานก่อนระบายทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้นะครับ

ระบบการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1   ตะแกรงดักเศษอาหาร จะช่วยกรองเศษอาหารและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ไว้

ขั้นตอนที่ 2   ส่วนแยกไขมัน ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับทิศทางการไหลของน้ำและรูปร่างถัง จึงมีประสิทธิภาพในการแยกและสกัดไขมันให้ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ

ขั้นตอนที่ 3   ท่อระบายไขมัน เมื่อไขมันถูกแยกออกจากน้ำและสะสมอยู่ภายในถัง ในระยะเวลาประมาณ 7 วัน ก็สามารถระบายไขมันออกทางท่อน้ำออกลงถุงดำ หรือภาชนะที่เตรียมไว้ เพื่อนำไปทิ้ง

 

วิธีการติดตั้งถังดักไขมัน แบบวางใต้ดิน

 

  1. ควรวางระดับท่อน้ำให้สามารถไหลได้ตามปกติ ระดับสูงมาต่ำ (ความลาดเอียงของท่อโดยประมาณ 1:100) (รูป ก)
  2. ขุดดินให้ได้ตามความลึกของถัง และความลาดชันที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทคอนกรีตเสริมเหล็กตามแบบ รอให้คอนกรีตแห้งแล้วจัดวางถังให้ได้ระดับ กลบอัดทราย ต่อท่อน้ำเข้า – ออก ให้ได้ระดับจนถึงปากถัง โดยให้ปากถังสูงกว่าระดับดิน ไม่น้อยกว่า 5 ซม. (รูป ข และ ค)
  3. ห้ามวางวัสดุที่มีน้ำหนักเกิน 3 กิโลกรัมบนฝาถัง

 

ข้อควรระวัง !!! ขณะกลบทรายรอบฝาถังให้ใช้ฝาปิดปากถังป้องกันดิน , ทราย , เศษวัสดุ เข้าถัง อาจทำให้เกิดท่อตันได้นะครับ

วิธีการติดตั้งถังดักไขมัน แบบวางบนดิน

  1. ถังดักไขมันควรติดตั้งไว้ใกล้กับอ่างล้างจาน เป็นบริเวณที่สามารถเปิดถังทำความสะอาดได้สะดวก หรือว่างใต้ซิ้งค์ล้างจาน ควรเป็นพื้นที่เรียบ ไม่มีเศษวัสดุ และได้ระดับ
  2. เดินท่อน้ำเสียจากอ่างล้างจาน มาเข้าถังดักไขมัน และเดินท่อน้ำทิ้งจากถังดักไขมันไปยังท่อระบายน้ำสาธารณะ (ความลาดเอียงของท่อโดยประมาณ 1:100)

 

 

 

วิธีการดูแลรักษา

  1. ควรนำเศษอาหารในตะกร้าดักเศษอาหารทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เศษอาหารเกิดการบูดเน่า
  2. ควรระบายไขมัน หรือตักไขมันที่ลอยอยู่ออกทางท่อระบายไขมันทุกๆ 7- 10 วัน
  3. ทุก 6 เดือนควรล้างทำความสะอาดโดยการถอดฝาเกลียวที่ก้นถังออก แล้วใช้น้ำฉีดทำความสะอาด

แท้งค์น้ำสเตนเลส หรือถังเก็บน้ำสเตนเลส

 

     แท้งค์น้ำสเตนเลส หรือถังเก็บน้ำสเตนเลส ผลิตมาจากวัสดุสเตนเลสเกรด AISI 304 มีส่วนผสมของโครเมี่ยมสูงถึง 18 % และนิกเกิ้ล 8% โดยทั่วไปมักจะเรียกกันว่า สเตนเลสเกรด AISI304 18-8 ม้วนขึ้นรูปเป็นลำตัวแท้งค์ เชื่อมต่อกับฝาบนส่วนหัวแท้งค์ และฝาล่างส่วนก้นแท้งค์ เป็นแท้งค์เก็บน้ำที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ใช้หลายๆ ท่าน สะดวกกับการติดตั้ง แบบก้นนูนมีรูน้ำทิ้งอยู่บริเวณก้นถัง มีขาตั้งรองรับถังไม่ให้ก้นถังติดพื้น ง่ายต่อการทำความสะอาด และสามารถปล่อยน้ำทิ้งไล่ตะกอนที่ตกค้างออกได้จนหมดถัง ควรทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอก ทุกๆ 6 เดือน เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานมากยิ่งขึ้นนะครับ

คุณสมบัติ

     สำหรับใช้บรรจุน้ำสะอาด น้ำประปา น้ำฝน เพื่อการอุปโภค – บริโภค สะอาดปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ แข็งแรง แตกยาก ทนทาน สวย เงางาม ทนแดด ทนฝน ทนทานต่อการกัดกร่อน ผุกร่อนยาก ทนความร้อนได้ดี ไม่เกิดกลิ่น เมื่อเก็บน้ำไว้นาน ทำความสะอาดง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก มีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่เกิดตะใคร่น้ำ

ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรนำไปใช้บรรจุน้ำที่มีค่าความเป็นกรด เป็นด่างสูง เช่น น้ำบาดาล น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำที่มีคลอรีนสูง หรือน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง

2. ไม่ควรนำไปวางตั้งในพื้นที่สภาพแวดล้อมที่อาจทำให้เกิดผลเสีย เช่น พื้นที่ลาดเอียง ใกล้ทะเล เศษเหล็กจากการเชื่อมงาน ละอองจากการพ่นสี เศษปูนจากงานก่อสร้าง สารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น

3. ห้ามใช้ข้อต่อที่เป็นเหล็กในการติดตั้ง เนื่องจากเนื้อเสตนเลสเมื่อสัมผัสกับเนื้อเหล็กแล้วจะทำปฏิกิริยาต่อต้านกัน จนทำให้เกิดสนิม ควรใช้ข้อต่อที่เป็นสเตนเลส ทองเหลือง หรือ PVC เท่านั้นนะครับ

แท้งค์น้ำพลาสติก หรือถังเก็บน้ำพลาสติก

     ปัจจุบันนี้แท้งค์น้ำพลาสติก หรือถังเก็บน้ำพลาสติก ได้ถูกพัฒนาคุณภาพทั้งทางด้านการผลิต และวัสดุที่ใช้ในการผลิตขึ้นมาให้มีความทันสมัย และมีคุณภาพในการใช้งานมากขึ้น โดยมีการนำวัสดุ PE หลากหลายรูปแบบเข้ามาเป็นส่วนผสม เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้งานสูงสุด เช่น Polyethelene (PE) , Polymer Elixer , Poly Composite , Fiber , Nano เป็นพลาสติกที่ผ่านการรับรองประเภท Food Grade จึงไม่มีสารที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ เป็นวัสดุที่ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นสูง เหนียวทน ขึ้นรูปได้ตามความต้องการ ไร้รอยต่อ

คุณสมบัติ

สำหรับใช้บรรจุน้ำ เพื่อการอุปโภค – บริโภค แข็งแรง สวยงาม รูปแบบทันสมัย ไม่เกิดสนิม ทนแดด ไม่เกิดตะไคร่ ไม่กรอบแตกง่าย ไม่เกิดตะใคร่น้ำ บรรจุได้ทั้งน้ำประปา น้ำฝน น้ำบาลดาล วางกลางแดดน้ำไม่ร้อน ควรทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอก ทุกๆ 6 เดือน

ข้อควรระวัง

  1. มีทั้งแบบทึบแสง และ ไม่ทึบแสงหากตั้งวาง ไว้กลางแจ้ง ควรเลือกใช้ถังเก็บน้ำพลาสติก แบบทึบแสง และกันตะไคร่น้ำ เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้น
  2. ไม่ควรนำไปวางในพื้นที่ลาดเอียง
  3. เคลื่อนย้ายไม่สะดวก