-
- ควรทำความสะอาดทั้งภายใน และภายนอกถัง อย่างน้อย ปีละ 2 ครั้ง (6 เดือน / ครั้ง) ล้างด้วยสบู่ ผงซักฝอก หรือ สารทำละลาย เช่น แอลกอฮอล์ แล้วล้างออกด้วยน้ำเย็นจนสะอาด แล้วใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง นะครับ
- ห้ามใช้บรรจุน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง เช่น น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำบาดาล หรือน้ำที่มีคลอรีนสูง เนื่องจากอาจจะเกิดการกัดกร่อนและเป็นสนิมได้
- อุปกรณ์ท่อประปา และข้อต่อ ที่ใช้เชื่อมต่อกับแท้งค์น้ำสเตนเลส ควรใช้เป็น PVC , สเตนเลส , ทองเหลือง เท่านั้นนะครับ ห้ามใช้เหล็กโดยเด็ดขาด เพราะเหล็กทำปฏิกิริยาต่อต้านกับสเตนเลสจนทำให้เกิดสนิมได้นะครับ
- ไม่ควรวางแท้งค์น้ำไว้ในพื้นที่ที่อาจเกิดผลเสีย เช่น ใกล้ทะเล ใกล้เหล็ก ใกล้การพ่นสี ใกล้การเชื่อมงาน ใกล้สารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น
- ควรใช้คู่กับขาตั้งที่ทางโรงงานผลิตมาให้ เนื่องจากการออกแบบขาตั้งจากทางโรงงานนั้น ได้มีการดีไซน์ประสิทธิภาพในการรองรับน้ำหนักแท้งค์น้ำมาเป็นอย่างดี และได้มาตรฐาน
- กรณีที่มีการเคลื่อย้ายแท้งค์น้ำ ควรถ่ายน้ำออกจากแท้งค์ให้หมด และเคลื่อนย้ายด้วยความระมัดระวัง
วัน: 23 มีนาคม 2018
วิธีการติดตั้งและดูแลรักษาถังดักไขมัน
ปัจจุบันในร้านอาหารหรือห้องครัวภายในบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป มักพบปัญหาท่อน้ำอุดตันจากไขมันของอาหาร ปัญหานี้จะหมดไป เมื่อคุณเลือกใช้ถังดักไขมัน ที่มีระบบการทำงานภายในที่สมบูรณ์แบบ และมีประสิทธิภาพในการบำบัดที่ดี เหมาะสำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร หรือห้องครัวภายในบ้านที่อยู่อาศัยทั่วไป และสามารถมั่นใจในคุณภาพน้ำทิ้งที่ได้มาตรฐานก่อนระบายทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะได้นะครับ
ระบบการทำงานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 1 ตะแกรงดักเศษอาหาร จะช่วยกรองเศษอาหารและสิ่งสกปรกต่าง ๆ ไว้
ขั้นตอนที่ 2 ส่วนแยกไขมัน ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับทิศทางการไหลของน้ำและรูปร่างถัง จึงมีประสิทธิภาพในการแยกและสกัดไขมันให้ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ
ขั้นตอนที่ 3 ท่อระบายไขมัน เมื่อไขมันถูกแยกออกจากน้ำและสะสมอยู่ภายในถัง ในระยะเวลาประมาณ 7 วัน ก็สามารถระบายไขมันออกทางท่อน้ำออกลงถุงดำ หรือภาชนะที่เตรียมไว้ เพื่อนำไปทิ้ง
วิธีการติดตั้งถังดักไขมัน แบบวางใต้ดิน
- ควรวางระดับท่อน้ำให้สามารถไหลได้ตามปกติ ระดับสูงมาต่ำ (ความลาดเอียงของท่อโดยประมาณ 1:100) (รูป ก)
- ขุดดินให้ได้ตามความลึกของถัง และความลาดชันที่คำนวณได้ในข้อ 1 เทคอนกรีตเสริมเหล็กตามแบบ รอให้คอนกรีตแห้งแล้วจัดวางถังให้ได้ระดับ กลบอัดทราย ต่อท่อน้ำเข้า – ออก ให้ได้ระดับจนถึงปากถัง โดยให้ปากถังสูงกว่าระดับดิน ไม่น้อยกว่า 5 ซม. (รูป ข และ ค)
- ห้ามวางวัสดุที่มีน้ำหนักเกิน 3 กิโลกรัมบนฝาถัง
ข้อควรระวัง !!! ขณะกลบทรายรอบฝาถังให้ใช้ฝาปิดปากถังป้องกันดิน , ทราย , เศษวัสดุ เข้าถัง อาจทำให้เกิดท่อตันได้นะครับ
วิธีการติดตั้งถังดักไขมัน แบบวางบนดิน
- ถังดักไขมันควรติดตั้งไว้ใกล้กับอ่างล้างจาน เป็นบริเวณที่สามารถเปิดถังทำความสะอาดได้สะดวก หรือว่างใต้ซิ้งค์ล้างจาน ควรเป็นพื้นที่เรียบ ไม่มีเศษวัสดุ และได้ระดับ
- เดินท่อน้ำเสียจากอ่างล้างจาน มาเข้าถังดักไขมัน และเดินท่อน้ำทิ้งจากถังดักไขมันไปยังท่อระบายน้ำสาธารณะ (ความลาดเอียงของท่อโดยประมาณ 1:100)
วิธีการดูแลรักษา
- ควรนำเศษอาหารในตะกร้าดักเศษอาหารทิ้งทุกวัน เพื่อไม่ให้เศษอาหารเกิดการบูดเน่า
- ควรระบายไขมัน หรือตักไขมันที่ลอยอยู่ออกทางท่อระบายไขมันทุกๆ 7- 10 วัน
- ทุก 6 เดือนควรล้างทำความสะอาดโดยการถอดฝาเกลียวที่ก้นถังออก แล้วใช้น้ำฉีดทำความสะอาด
แท้งค์น้ำสเตนเลส หรือถังเก็บน้ำสเตนเลส
แท้งค์น้ำสเตนเลส หรือถังเก็บน้ำสเตนเลส ผลิตมาจากวัสดุสเตนเลสเกรด AISI 304 มีส่วนผสมของโครเมี่ยมสูงถึง 18 % และนิกเกิ้ล 8% โดยทั่วไปมักจะเรียกกันว่า สเตนเลสเกรด AISI304 18-8 ม้วนขึ้นรูปเป็นลำตัวแท้งค์ เชื่อมต่อกับฝาบนส่วนหัวแท้งค์ และฝาล่างส่วนก้นแท้งค์ เป็นแท้งค์เก็บน้ำที่ได้รับความนิยมอย่างสูงจากผู้ใช้หลายๆ ท่าน สะดวกกับการติดตั้ง แบบก้นนูนมีรูน้ำทิ้งอยู่บริเวณก้นถัง มีขาตั้งรองรับถังไม่ให้ก้นถังติดพื้น ง่ายต่อการทำความสะอาด และสามารถปล่อยน้ำทิ้งไล่ตะกอนที่ตกค้างออกได้จนหมดถัง ควรทำความสะอาดทั้งภายในและภายนอก ทุกๆ 6 เดือน เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานมากยิ่งขึ้นนะครับ
คุณสมบัติ
สำหรับใช้บรรจุน้ำสะอาด น้ำประปา น้ำฝน เพื่อการอุปโภค - บริโภค สะอาดปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ แข็งแรง แตกยาก ทนทาน สวย เงางาม ทนแดด ทนฝน ทนทานต่อการกัดกร่อน ผุกร่อนยาก ทนความร้อนได้ดี ไม่เกิดกลิ่น เมื่อเก็บน้ำไว้นาน ทำความสะอาดง่าย เคลื่อนย้ายสะดวก มีหลากหลายขนาดให้เลือกใช้ มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่เกิดตะใคร่น้ำ
ข้อควรระวัง
1. ไม่ควรนำไปใช้บรรจุน้ำที่มีค่าความเป็นกรด เป็นด่างสูง เช่น น้ำบาดาล น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำที่มีคลอรีนสูง หรือน้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง
2. ไม่ควรนำไปวางตั้งในพื้นที่สภาพแวดล้อมที่อาจทำให้เกิดผลเสีย เช่น พื้นที่ลาดเอียง ใกล้ทะเล เศษเหล็กจากการเชื่อมงาน ละอองจากการพ่นสี เศษปูนจากงานก่อสร้าง สารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น
3. ห้ามใช้ข้อต่อที่เป็นเหล็กในการติดตั้ง เนื่องจากเนื้อเสตนเลสเมื่อสัมผัสกับเนื้อเหล็กแล้วจะทำปฏิกิริยาต่อต้านกัน จนทำให้เกิดสนิม ควรใช้ข้อต่อที่เป็นสเตนเลส ทองเหลือง หรือ PVC เท่านั้นนะครับ